
กลายเป็นประเด็นที่หลายคนสงสัยไม่ใช่น้อย เมื่อผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า.. "ทำไมสถานีรถไฟฟ้าถึงใช้นาฬิกา อนาล็อกไม่ใช่ นาฬิกาดิจิตอล" เป็นการรักษาเอกลักษณ์แนวแก่นสารหรือยุคก่อเกิด รถราง รถไฟขบวนแรกไว้หรือไม่? เราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ
ภาพ : Railway Channel TH
ขนาดสถานีกลางบางซื่อสร้างใหม่ ก็ยังใช้นาฬิกาอนาล็อก
ขณะเดียวกันด้าน เพจ MRT Bangkok Metro เผยข้อมูลเล่าว่า..เพื่อนๆ เคยดูนาฬิกาในสถานีไหมครับ?
MRT ทุกสถานีของเราจะมีนาฬิกาขนาดใหญ่ติดตั้งไว้ภายในสถานี ซึ่งนาฬิกาเรือนนี้มีระบบแสดงเวลาแบบ Master clock system
Master clock system คืออะไร?
คือระบบการแสดงเวลามาตรฐานจากระบบเวลาสากล ซึ่งทำหน้าที่จ่ายสัญญาณเวลาให้กับนาฬิกาที่คอยรับสัญญาณ ทำให้นาฬิกาทุกเรือนที่อยู่ในระบบเดินตรงกันทุกเรือนครับ ฉะนั้น เพื่อนๆ สามารถไว้ใจความแม่นยำของนาฬิกาที่อยู่ภายในสถานีได้อย่างแน่นอน
ทำหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็น เช่น ดูเท่ห์ ดูวินเทจ ดูมีเสน่ห์ และ ดูมีความคลาสสิก มากกว่า นาฬิกาดิจิตอล บางคนก็บอกว่ารักษาความโบราณไว้ ถ้าจะเปลี่ยนเป็นดิจิตอล ก็จะทำให้คนไทยดูเวลาผิด
เหตุผลก็คือ นาฬิกาแบบรับสัญญาณนั้นจะกระทำได้แค่ในขณะที่รถจอดอยู่ในสถานี ซึ่งเป็นเวลาสั้นมาก และตัวเรือนนาฬิกายังจะต้องอยู่นิ่งระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากที่นาฬิกาที่อยู่บนรถที่มีการขยับเขยื้อนตลอดเวลาจะสามารถทำได้ อีกทั้งภายในตัวโครงรถไฟนั้นเป็นเหล็ก ซึ่งจะทำการขัดขวางสัญญาณ และทำให้นาฬิการับคลื่นได้ยากขึ้นไปอีก จะพอคาดเดาได้ว่าเป็นเรื่องของความแม่นยำของนาฬิกานั่นเอง
เรียบเรียงโดย : daratop.com